facebook ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง ได้เปิดเผยการศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง

ในการศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู บริเวณเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

 

โดยเก็บตัวอย่างจากท่าเรือบริเวณหาดเจ้าไหม เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกจากการกินอาหารของปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) พบว่าปลาทูขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 66.53 ± 1.136 กรัม (ค่าเฉลี่ย ± SE) ความยาวมาตรฐานเฉลี่ย 17.46 ± 0.087 (ค่าเฉลี่ย ± SE) เซนติเมตร มีไมโครพลาสติกในกระเพาะของปลาทูเฉลี่ย 78.04 ± 6.503 ชิ้น/ตัว ประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย (สีดำน้ำเงิน แดง และเขียว) ชิ้น (สีดำ ขาว แดง น้ำตาล-ส้ม ฟ้า-น้ำเงิน และเหลือง) แท่งสีดำ และกลิตเตอร์ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นสีดำ ด้วยค่าร้อยละ 33.96

 

 

ในขณะนี้ถึงแม้จะมีการประเมินจำนวนไมโครพลาสติกที่มนุษย์ได้รับเข้าไปในร่างกายจากแหล่งต่างๆ ก็ตาม แต่ความเข้าใจเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพอย่างแท้จริงนั้นยังไม่ชัดเจน และนักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่าจำเป็นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนี้ต่อไป