ช่วงเดือนมิถุนายาที่ผ่านมาเราได้ข่าววาฬบลูด้าที่ลอยตายถึง 4 ตัวด้วยกัน คือลอยมาติดที่ชายฝั่ง จ.สมุทรปราการ ในทะเล จ.ชุมพร และที่ลากนำขึ้นฝั่ง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี และวันที่ 21 มิถุนายน พบวาฬบรูด้ากลางทะเล ห่างจากชายฝั่งประมาณ 4 กิโลเมตร ท้องที่หมู่ 7 ต.ท่าชนะ อ.ท่าชนะ เขตรอยต่อกับ อ.ละแม จ.ชุมพร โดยที่ยังไม่รู้ถึงสาเหตุ ในณะเดียวกันก็มีข่าวพะยูนมาเรียมที่หลงกับแม่ของมันจนเกยตื้นแต่โชคดีที่มีคนไปพบเลยไม่ตาย

พอเดือนนี้มีข่าวพบวาฬหัวทุยตายอีก 2 ตัวคือ พบซากวาฬหัวทุย สัตว์ทะเลหายากขนาดใหญ่อาศัยทะเลลึก ลอยตายกลางทะเลเกาะลันตา จ.กระบี่ เจ้าหน้าที่กรมประมง-ทช.ลากขึ้นฝั่ง เตรียมผ่าชันสูตรหาสาเหตุตาย เบื้องต้นนักวิชาการ พบร่องรอยแอบถูกตัดปลายกรามล่าง วันนี้ (2 ก.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Kongkiat Kittiwatanawong ของดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต โพสต์ข้อความว่าช่วงนี้ เจ้าหน้าที่ทีมสัตว์ทะเลหายาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต้องรวมทีมบูรณาการทำงานจากทั้ง 5 ศูนย์ เพื่อรับมือกับการเกยตื้นของทั้งเต่าทะเลและสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

อีกหนึ่งตัวคือ เป็นวาฬสเปิร์ม หรือหัวทุย มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 12 เมตร น้ำหนักหลายตัน ถือเป็นวาฬที่อยู่ในช่วงเกือบโตเต็มวัย สภาพคาดว่าเสียชีวิตมาประมาณ 1-2 วัน ตามตัวไม่พบบาดแผลจากการถูกทำร้าย ลอยตายทะเลเกาะลันตา ประมง จ.กระบี่ คำถามคือมันเกิดอะไรขึ้นกับทะเลไทย ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หายากต้องมาตายลงหลายตัวพร้อมๆกัน (ไม่นับที่ไม่พบเห็น)

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ได้รับรายงานแล้วว่าเจอวาฬหัวทุย เกยตื้นตายในทะเล อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ความยาวประมาณ 10 เมตร โดยศูนย์วิจัยและพัฒนทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้รับแจ้งจากนายศักดิ์ดา ทวีเมือง ประมงอำเภอเกาะลันตา จ.กระบี่ว่ามีชาวประมงพบชากวาฬหัวทุย ระหว่างเกาะหม้อ กับเกาะห้า ขณะนี้ได้ลากชากวาฬเข้าสู่ฝั่ง และประสานทีมสัตวแพทย์ ประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง และสัตว์แพทย์สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตรัง เพื่อดำเนินการเก็บตัวอย่างและชันสูตรหาสาเหตุการตายอย่างละเอียดโดนได้กล่าวว่า

“ยอมรับว่า ช่วงนี้มีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตายเยอะมากทั้งวาฬบรูด้า เต่าทะเล ล่าสุดเจอวาฬหัวทุย ซึ่งไม่ใช่วาฬที่พบเจอได้บ่อยนัก ขณะนี้ต้องผ่าพิสูจน์ก่อนว่าตายจากสาเหตุอะไร ”

 

หวังว่าผู้เกี่ยวข้องจะหาสาเหตุและหนทางแก้ไขได้โดยเร็วก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรสัตว์น้ำจะรุนแรงกว่านี้ ที่สำคัญขอภาวนาว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะล้มตายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้ จะเป็นสาเหตุจากธรรมชาิไม่ใช้ฝีมือมนุษย์ เพราะถ้าสาเหตุจากมลพิษต่างๆที่เกิดจากมนุษย์ โอกาสที่จะแก้ไขได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วนั้น เราบอกได้เลยว่า ไม่มีทางเพราะเราเลยจุดนั้นมานานมากแล้ว