ภาพยนต์ญี่ปุ่นเราจะเห็นว่าตามสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองเล็ก ๆ หรือตามป่าเขานอกเมือง มักจะเห็นศาลขนาดเล็กตั้งอยู่ ข้างในนั้นก็มีพระพุทธรูปหินองค์เล็กหรือไม่ก็หินก้อนหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายคนนิด ๆ  สิ่งนั้นคนญี่ปุ่นเรียกกันว่า จิโซ (Jizo / 地蔵) ครับ เแปลตรง ๆ ว่า “ผู้พิทักษ์แห่งผืนดิน” ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับจิโซของทางพุทธนิกายชินโตนี่ก็มีหลากหลายมาก


1. จิโซ คือ เทพผู้คุ้มภัยนักเดินทาง
การเดินทางของคนญี่ปุ่นในอดีตนั้นเป็นการเดินเท้าเป็นส่วนใหญ่ ระหว่างทางก็จะเจอก้อนหินที่ดูโดดเด่นกว่าเศษเห็นเล็ก ๆ ตามทางแต่ขนาดไม่ใหญ่มาก คนในอดีตเชื่อกันว่าก้อนหินที่เห็นนั้นก็คือจิโซนั่นเอง เพราะว่าก้อนหินเหล่านั้นมีอยู่ทุกที่ เห็นผลุบ ๆ โผล่ ๆ ตามพุ่มไม้ ก็เหมือนกับว่ากำลังคอยสอดส่องนักเดินทาง ช่วยคุ้มครองนักเดินให้ปลอดภัย ดังนั้น เมื่อนักเดินทางพบเห็นก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายคนตัวเล็ก ๆ ก็จะเอาหมวกและผ้าคลุมไปใส่ให้หรือเอาข้าวปั้นไปไห้วเป็นเครื่องเซ่น เพื่อให้เดินทางไปถึงจุดมุ่งหมายอย่างปลอดภัย ก็คล้าย ๆ กับความเชื่อของคนไทยที่ยกมือไหว้ศาลเจ้าที่ตามทาง


2. จิโซ คือ พระผู้คุ้มครองเด็ก ๆ
ด้วยรูปลักษณ์ของจิโซที่เหมือนกับเณรน้อย จึงมีความเชื่อที่ว่าจิโซคือพระผู้คุ้มครองเด็กเล็กด้วย คนญี่ปุ่นเองก็มีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณเหมือนกับคนไทย ครอบครัวที่เสียลูกหรือแท้งบุตรมักเชื่อว่าวิญญาณของเด็กที่เสียชีวิตไปอาจจะถูกล่อลวงไปยังนรกภูมิหรือถูกปีศาจทำร้าย จึงมีการสร้างรูปปั้นจิโซขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญให้กับเด็กที่เสียชีวิต และให้จิโซที่สร้างขึ้นคอยปกป้องดวงวิญญาณนั้น โดยจะสร้างไว้ตามศาลเจ้าหรือวัดต่างๆ



3. จิโซ คือ พระโพธิสัตว์
ประเทศญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธมาจากประเทศจีนพร้อม ๆ กับตัวหนังสือคันจิที่ใช้ในปัจจุบัน จิโซเองเดิมทีก็คือ พระกษิติครรภโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์รูปหนึ่งในศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยมีตำนานเล่าว่าเดิมทีเป็นผู้หญิงที่เสียสละเพื่อแม่และมวลมนุษย์จึงได้กลับชาติมาเกิดเป็นชายและได้ปฏิบัติธรรมจนกลายเป็นพระโพธิสัตว์ในที่สุด  ซึ่งเรียกได้ว่าหนังคนละม้วนกับจิโซของญี่ปุ่นเลยทีเดียว



ในช่วงฤดูหนาวเราจะเห็นรูปปั้นจิโซมีหมวกและผ้าคลุมสีแดงใส่ไว้กันหนาวด้วย ดุน่ารักน่าเอ็นดูไปอีกแบบ ซึ่งสิ่งของเหล่านี้จะได้รับบริจาคจากชาวบ้านที่ศรัทธานำมาถวายให้เพื่อคลายหนาวให้กับพระจิโซ เป็นการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่ง จะว่าไปก็เหมือนของไทยที่มีการเปลี่ยนเครื่องทรง ต่อไปถ้าไปเที่ยวแล้วได้เจอรูปปั้นจิโซที่ไหน ก็อย่าลืมทำความเคารพกันบ้างนะ เผื่อจะได้โชคดีมีชัยทั้งทริป

ขอบคุณข้อมูลจาก JapanCheckin