กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นอีกหน่วยงานที่มักจะถูกพูดถึงให้เข้ามาแก้สารพัดปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเค็มรุกแม่น้ำ ขาดน้ำจืดผลิตน้ำประปา น้ำทำมาหากินของเกษตรกรเหือดหาย น้ำในเขื่อน อ่างเก็บน้ำแห้งขอด หมอกควัน ฝุ่น PM 2.5 คลุมเมือง จุดไฟเผาป่า  คนส่วนใหญ่คิดว่าฝนหลวงเป็นยาวิเศษขนานเอกที่คนไทยวาดหวัง แต่จะเป็นจริงได้แค่ไหน เป็นอีกเรื่องที่สังคมจะต้องมองปัญหาอย่างเข้าใจ



นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ให้ข้อมูลกี่ยวกับการทำฝนหลวงดังนี้ “ก่อน อื่นต้องเข้าใจ ต้นกำเนิดของฝนหลวงมาจากนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาทำให้ฝนตกถูกที่ ถูกเวลาในช่วงฤดูฝนเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาฝนทิ้งช่วง ช่วยเหลือเกษตรกรที่ลงทุนเพาะปลูกไปแล้ว พืชผลจะได้ไม่ยืนต้นตาย ฤดูฝนแม้จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง แต่สภาพอากาศเอื้อให้ทำฝนหลวงได้ดี แต่สภาพอากาศในช่วงนั้นจะแตกต่างกับฤดูแล้งอย่างสิ้นเชิง”


ฤดูแล้ง พ.ย.-ก.พ. สภาพอากาศจะเอื้อให้บินขึ้นไปทำฝนหลวงเฉลี่ยแล้วมีแค่เดือนละ 4-5 วัน
มี.ค.-เม.ย. เอื้อให้ทำฝนได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละไม่เกิน 10 วัน
ต่างกับฤดูฝน พ.ค.-ต.ค. เอื้อให้บินทำฝนได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 20 วัน



สภาพ อากาศเอื้ออำนวยที่ว่านั่นคือ อากาศมีความชื้น สัมพัทธ์มากกว่า 60% ค่าการยกตัวของเมฆกำลังดี คือสภาพท้องฟ้าเปิดมีพลังงานแสง อาทิตย์มาช่วยยกตัวของเมฆลอยขึ้นไปก่อตัวในแนวตั้งได้ดี

แต่ฤดูแล้ง ความชื้นในอากาศมีแค่ 40-50% แถมยังมีมวลอากาศเย็น หรือความกดอากาศสูงมากดทับไม่ให้เมฆลอยตัว แล้วไหนลมชั้นบนยังพัดแรงทำให้เมฆที่พอจะก่อตัวแตกกระจาย โอกาสจะได้ฝนยิ่งน้อยลงไปอีก

“ฤดูแล้งใช่จะไม่มีโอกาสทำฝนหลวงได้เลย สามารถทำได้ แต่ต้องรอให้สภาพอากาศเป็นใจ รอช่วงที่อากาศร้อนพัดมาปะทะกับอากาศเย็น ถึงจะเป็นโอกาสทำฝนหลวงได้ บินขึ้นไปโปรยสารเร่งปฏิกิริยาให้เมฆและทำให้ฝนตกได้ตรงพื้นที่เป้าหมายตาม ที่ต้องการ ไม่ใช่ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการ นอกจากฝนที่ตกลงมาจะถูกที่ เมฆฝนที่พอจะมีมาอาจไม่ให้น้ำฝนเลยก็ได้

เรา ไม่สามารถจะบินขึ้นไปทำฝนหลวงได้ทุกวัน จะทำเฉพาะในช่วงโอกาสเหมาะเท่านั้น เพราะเราไม่ใช่หน่วยงานเชิงสัญลักษณ์ ทำเพื่อสร้างภาพ หรือสร้างขวัญกำลังใจ เราจะตัดสินใจขึ้นปฏิบัติการได้ต่อเมื่อมั่นใจแล้วเท่านั้น เพื่อให้คุ้มค่าเงินภาษีของประชาชน เพราะการขึ้นบินทำฝนหลวงครบ 3 ขั้นตอน ก่อกวน เลี้ยงให้อ้วน และโจมตี มีต้นทุนสูงถึงครั้งละ 3 แสนบาท ฉะนั้นทุกอย่างต้องทำให้คุ้มค่าเงินภาษี”



การทำฝนหลวงมีข้อจำกัดมางธรรมชาติ และงบประมาฯและกำลังคนดังนั้นเกษตรกรและผู้ใช้น้ำจึงต้องมีการวางแผนการใช้น้ำและหาทางกักเก็บน้ำด้วยตนเองเพื่อบรรเทาภัยแล้งด้วย