4 กุมภาพันธ์ นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงการแก้ไขระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2563 หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบเดิมที่มีอยู่แล้ว หลายหน่วยงานมีใช้ตั้งแต่ปี 2544 แต่หลังจากมีการบังคับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน 2560 จึงมีการออกระเบียบใหม่โดยได้มีการศึกษาระเบียบขององค์กรอื่นๆ ที่เห็นว่าจะสอดคล้องต่อการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง 4,500 บาท ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปต่างประเทศ 3,100 บาท เทียบกับข้าราชการระดับสูงตั้งแต่ซี 9 ขึ้นไป แต่ในบางประเทศที่ค่าครองชีพสูง ระเบียบของหลายหน่วยงานก็ได้บวกอีกเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือบางหน่วยงานก็กำหนดเบี้ยเลี้ยงเป็นเงินสกุลดอลลาร์ บางแห่ง 100 ดอลลาร์ บางที่ 130 ดอลลาร์ เพื่อป้องกันการผันผวนของค่าเงิน นั่นคือความจำเป็นทำให้เราต้องออกระเบียบ แต่ในความเป็นจริงเบิกได้ 3,100 บาท ไม่ใช่ 4,500 บาท

4 กุมภาพันธ์ นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงการแก้ไขระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2563 หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบเดิมที่มีอยู่แล้ว หลายหน่วยงานมีใช้ตั้งแต่ปี 2544 แต่หลังจากมีการบังคับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน 2560 จึงมีการออกระเบียบใหม่โดยได้มีการศึกษาระเบียบขององค์กรอื่นๆ ที่เห็นว่าจะสอดคล้องต่อการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง 4,500 บาท ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปต่างประเทศ 3,100 บาท เทียบกับข้าราชการระดับสูงตั้งแต่ซี 9 ขึ้นไป แต่ในบางประเทศที่ค่าครองชีพสูง ระเบียบของหลายหน่วยงานก็ได้บวกอีกเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือบางหน่วยงานก็กำหนดเบี้ยเลี้ยงเป็นเงินสกุลดอลลาร์ บางแห่ง 100 ดอลลาร์ บางที่ 130 ดอลลาร์ เพื่อป้องกันการผันผวนของค่าเงิน นั่นคือความจำเป็นทำให้เราต้องออกระเบียบ แต่ในความเป็นจริงเบิกได้ 3,100 บาท ไม่ใช่ 4,500 บาท

นายรักษ เกชากล่าวต่อว่า เช่นเดียวกับกรณีคู่สมรสเราก็ลอกมาจากระเบียบของหน่วยงานอื่น หลังระเบียบประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 29 มกราคม ยังต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าคนที่จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร เดินทางไปราชการในภารกิจใด ไม่ใช่เป็นเรื่องทั่วไปที่จะเบิกจ่ายได้ทั้งหมด หากไม่มีระเบียบรองรับในทางปฏิบัติเลือกได้สองทางคือ ไม่ไปกับออกค่าใช้จ่ายเอง คู่สมรสอาจไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ในกรณีตั้งกรรมาธิการ กมธ. อนุฯกมธ. ที่มาจากภาคเอกชนไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้ามาทำงานกับรัฐก็ระเบียบรองรับให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้

“ระเบียบของผู้ตรวจฯไม่ได้แปลกแยกจากหน่วยงานอื่น แต่เมื่อมีคนสงสัยเราก็ต้องชี้แจง ซึ่งขณะนี้ผู้ตรวจฯก็ตระหนักถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ แต่ท้ายที่สุดอาจต้องมีการยกเลิกเพื่อความสบายใจ แล้ววันข้างหน้าหากมีใครเชิญมาค่อยมาแก้ปัญหาเอา ยอมรับว่าที่ผ่านมามีคู่สมรสเดินทางไปต่างประเทศแต่ออกเงินเอง ในงานต่างๆ บางกรณีที่เป็นงานแบบพิธีจึงสมควรที่จะต้องมีระเบียบรองรับ ถ้าต่างประเทศเชิญมาแล้วบอกว่าออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ถึงเวลาที่เราเป็นเจ้าภาพจัดงานลักษณะเดียวกันแล้วถามว่าเราต้องเชิญเขาไหม ถ้าเราไม่มีระเบียบรองรับเราก็เชิญไม่ได้” นายรักษเกชากล่าว

ข่าวจาก มติชน