วันที่ 16 กันยายน 2562 มีรายงานว่าได้เกิดโรคระบาดในสุกร ซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นเชื้ออหิวาต์แอฟริการะบาดในสุกรหรือหมูในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย โดยล่าสุดพบมีสุกรของนายดวงฤดี ปงกันคำและนายสมบูรณ์ ทรายหมอหมู ชาวบ้านบ้านสันธาตุ หมู่ 9 ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้เสียชีวิตจำนวนหลายตัว ทำให้ทางเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการควบคุมพื้นที่ โดยการทำลายสุกรที่เลี้ยงทั้งหมดในรัศมี 1 กิโลเมตร พร้อมกับทำการใส่ยาฆ่าเซื้อและฝังกลบ ตลอดจนห้ามเจ้าของหรือบุคคลใดเข้าไปยังโรงเลี้ยงหมูเพื่อไม่ให้ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่งทางปศุสัตว์ได้เก็บตัวอย่างไปตรวจสอบอย่างละเอียด ว่าเป็นเชื้ออหิวาต์แอฟฟริกาจริงหรือไม่อย่างไร



จากการสอบถามนายพลวัต วงค์คำ ผู้ใหญ่บ้านสันธาตุ กล่าวว่า สุกรที่ชาวบ้านเลี้ยงได้เริ่มเสียชีวิตลงมาได้ประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว แต่ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงไม่แจ้งให้ทราบ พยายามใช้ยาหรือวัคซีนมาฉีดหวังจะสามารถควบคุมโรคได้ แต่ไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ ทำให้สุกรได้ทยอยตายลงเรื่อยๆ ถึงมาแจ้งให้ทราบ ก่อนจะแจ้งให้ทางปศุสัตว์ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่มาควบคุมโรคทันที โดบทการฆ่าเซื้อและทำลายสุกรที่เลี้ยงทั้งหมดในรัศมี 1 กิโลเมตร ซึ่งมีเกษตรกรผู้เลี้ยงจำนวน 3 ราย มีสุกรถูกทำลายไปประมาณ 120 ตัว

นายพลวัต กล่าวว่า หลังการทำลายเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการฆ่าเชื้อโรงเลี้ยงและได้มีการฝังกลับยังพื้นที่เลี้ยง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ให้มีการขนย้ายไปยังพื้นที่อื่นเพราะเกรงจะมีการระบาด ซึ่งสุกรที่ถูกทำลายทางปศุสัตว์ก็จะมีการชดเชยให้ในอันตราร้อยละ 75 ของราคาสุกร ซึ่งการที่สกรเสียชีวิตเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก หากชาวบ้านแจ้งล่วงหน้าก็ทำให้รับเงินชดเชยไม่ต้องมีสุกรตายไปฟรี เพราะก่อนหน้านี้มีสกุรตายไปจำนวนมาก ซึ่งสุกรที่ตายทางภาครัฐไม่ให้การช่วยเหลือ
"สำหรับการติดเชื้อโรคของสุกรครั้งนี้คาดว่าน่าจะเกิดการติดเชื้อมากับกระสอบอาหารสุกรหรือรถยนต์หรือผู้ที่นำอาหารมาส่งให้ เพราะการเลี้ยงสุกรที่หมู่บ้านเป็นการเลี้ยงแบบเปิด เลี้ยงโดยชาวบ้านที่เลี้ยงกันเองไม่ได้เป็นฟาร์มเลี้ยงทำให้ระบบการป้องกันจึงไม่มีเพราะไม่มีโรงฆ่าเชื้อยานพาหนะหรือผู้คนที่เดินทางเข้าออกโรงเลี้ยงเหมือนฟาร์มปิด และเชื้อโรคอาจจะมาจากพื้นที่ อ.แม่สาย ซึ่งก่อนหน้านี้มีการระบาดของโรคนี้เช่นกันในหลายฟาร์มทำให้มีการทำลายสุกรแล้วกว่า 700 ตัว ซึ่งคนส่งหรือจำหน่ายอาหารก็เป็นร้านค้าหรือบริษัทเดียวกัน จึงทำให้อาจจะติดเสื้อผ้าหรือกระสอบหรือรถยนต์ที่ใช้ขนอาหารส่งมาติดสุกรที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้"นายพลวัต กล่าว

ข่าวจาก แนวหน้า