“ยางนา” ไม้มีค่าที่ในหลวง ร.9 ทรงเห็นคุณค่าและทรงห่วงใยมากว่า 50 ปี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ได้มีพระราชปรารภเมื่อปี พ.ศ. 2504 ด้วยทรงห่วงในสถานการณ์ของไม้ยางนาเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้วว่า “ไม้ยางนาในประเทศไทยได้ถูกตัดไปใช้สอยและทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่น่าวิตกว่าหากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริมและดำเนินการปลูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณยางนาก็จะลดน้อยลงไปทุกที จึงควรจะได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาเพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ”

ยางนา
ยางนานั้นปัจจุบันถือเป็นไม้อเนกประสงค์ที่สามารถสร้างมูลค่าได้ไม้แพ้ ไม่ชนิดอื่นๆ แทบทุกส่วนของยางนานั้นสามารถนำทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ได้มากมาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ราคาที่ซื้อขายในปัจจุบัน ยางนาที่มีอายุ 15-20 ปี เฉลี่ยจะอยู่ที่ต้นล่ะ 15000 ถึง 25000 บาทเลย ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก น้ำมันยางนั้นเมื่อสกัดออกมา สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร และส่วนเนื้อไม้ของยางนานั้นเหมาะสำหรับใช้สอยทั่วไป เพราะยางนาเป็นไม้ที่มีเนื้อไม้มาก แต่ปัญหาการที่จะปลูกยางนั้น ปัจจุบันมีข้อกฎหมาย เพราะเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. การที่ใครต้องการนำมาปลูกนั้นจะต้องขออนุญาตให้เรียบร้อยเสียก่อน

วิธีการปลูกนั้น ส่วนมากจะนำผลหรือเมล็ดมาเพาะ ส่วนเมล็ดที่เหมาะแก่การนำมาเพาะนั้นควรเป็นช่วงที่ผลเปลี่ยนสีจาก สีเขียวเป็นสีน้ำตาลอ่อน เมื่อเราเก็บผลจากต้นแล้ว ควรรีบทำการเพราะทันที โดยให้ตัดปีและเพาะลุงในถุงดำใส่ขี้เถ้าแกลบลงไป (ไม่ควรเก็บผลที่หล่นมาเพาะ เพราะจะทำให้ผลยางนาสูญเสียความชื้น) จากการสังเกตพบว่า ถ้าในผลมีความชื้นน้อยเกินไป จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกนั้นลดลง เมื่อนำมาเพาะในถุงที่เราเตรียมไว้แล้ว ให้รดน้ำให้ชุ่ม แล้วยางนาจะงอกภายในหนึ่งสัปดาห์
การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกกล้าไม้ยางนานั้น ควรทำการไถและพรวนดิน เพราะอัตราการเจริญเติบโตของกล้ายางนาจะเติบโตได้ดีในพื้นที่ ที่มีการเตรียมดิน การปลูกในระยะที่เหมาะสมคือ 4 x 4 เมตร จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์รอดที่สูงและเจริญเติบโตได้ดี หลุมที่ปลูกควรให้มีขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร และในหลุมก็ควรใส่ดินผิวที่ร่วนซุยลงด้วย หรือใส่บุ๋ยอินทรีย์ลงในหลุมก็ได้ พื้นที่ที่แห้งแล้ง แนะนำให้ใช้โพลีเมอร์ใส่ในหลุมๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อให้ช่วยดูดซับน้ำในฤดูฝน และที่สำคัญ มันเป็นแหล่งที่จะให้ความชื้นกล้ายางนาในฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี เมื่อทำการปลูกต้นกล้าแล้วควรกลบหลุมให้ได้ระดับผิวดินพอดี ระวังอย่าให้น้ำขัง สำหรับในพื้นที่แห้งแล้งควรกลบหลุมให้เป็นลักษณะแอ่งเล็กๆ รอบโคนต้นเพื่อให้สามารถรับน้ำฝนได้ดี แต่ให้ระวังเรื่องนำขังด้วย ในช่วงฤดูฝนนั้นไม่ควรทำการย้ายกล้าไม้
การดูแลรักษายางนานั้น เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 เดือน ควรตรวสอบดูว่า มีหลุมไหนที่ไม่เจริญเติบโต ควรทำการปลูกซ่อมต้นที่ไม่รอดในทันที เพราะถ้าเราใช้กล้าไม้ที่อายุใกล้ๆกันนั้น จะทำให้ต้นยางนาเติบโตได้ไล่เลี่ยกัน ฉะนั้นควรเตรียมกล้าไม้สำหรับแชมต้นที่ไม่รอดด้วยนะ ในส่วนของกล้าไม้ที่เตรียมไว้นั้น เมื่อนานไปรากมักจะแท งทะลุถุงพลาสติกลงในดิน เมื่อเราจะทำการย้ายหรือนำไปปลูกควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รา กขาดหรือกระทบกระเทือน ในส่วนการกำจั ดวั ชพืชนั้น เนื่องจากยางนานั้นปัญหาวั ชพืชไม่รุนแรงมากนัก อาจทำเพียงปีละ 2 ครั้งก็ได้ คือ ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม และอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ การปลูกนานั้นนับว่าเป็นวิธีการเก็บออมเงินอีกวิธีที่ดีมากๆ เลยทีเดียว

เคล็ดลับทำเงินเพาะเห็ดโคนยางนา เก็บได้ทุกปี
เห็ดเผาะ
เห็ดเผาะ จัดเป็นเชื้อราจำพวกเอคโตไมคอร์ไรซา เช่นเดียวกับเห็ดตับเต่า โดยเจริญอยู่ร่วมกับรากต้นไม้ยืนต้นแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันเพราะเส้นใยของเชื้อราจะเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ไว้เหมือนนวมซึ่งช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ในฤดูแล้ง ส่วนต้นไม้ได้รับแร่ธาตุบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสที่เชื้อราช่วยย่อยสลายออกมาจากดิน ให้อยู่ในรูปที่ต้นไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ทำให้ต้นไม้มีระบบรากที่แข็งแรง เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถหาอาหารได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันและควบคุมการเกิดโรคกับระบบรากต้นไม้ได้ด้วย ในขณะเดียวกันต้นไม้ก็ได้ให้ความชื้น แร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งสารอาหารบางอย่างแก่เชื้อราดังกล่าว เช่น กรดอะมิโนบางชนิด วิตามินบี และน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กลูโคส ฟรุกโตส เป็นต้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เส้นใยเชื้อราดังกล่าวจะรวมตัวและพัฒนาเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นไม้ ที่มีรากพืชกระจายอยู่ และหากต้นไม้ตาย เชื้อราดังกล่าวก็จะตายไปด้วย


วิธีเพาะเห็ดเผาะกับต้นยางนา
เมื่อดอกเห็ดแก่มากๆ ภายในดอกเห็ดจะมีสปอร์อยู่ เมื่อเขย่าแล้วจะได้ยินเสียงของสปอร์อยู่ข้างใน ซึ่งสปอร์ของเห็ดราบางชนิดสามารถเก็บได้ในปริมาณมาก เช่น เห็ดหัวเข่า เห็ดเผาะ เห็ดลูกฝุ่น และเห็ดทรงกลม เราสามารถนำสปอร์ไปละลายน้ำหรือใช้สปอร์โดยตรงคลุกกับเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะกล้า หรือนำสปอร์ละลายน้ำในอัตราส่วน 1:1000 แล้วฉีดพ่นกับต้นกล้าหรือเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในแปลงเพาะ ข้อดีของวิธีการนี้คือ นำไปปฏิบัติได้ง่าย ได้พันธุ์เห็ดที่ทราบชื่อชนิดพันธุ์ได้ แต่มีข้อเสียคือ เราไม่สามารถเก็บสปอร์ในปริมาณมากๆ ได้ ไม่สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีมีประสิทธิภาพสูง และสปอร์มีระยะพักตัว มีการงอกที่ไม่สม่ำเสมอ สปอร์บางชนิดมีอัตราการงอกต่ำ ต้องใช้วิธีกระตุ้นเป็นพิเศษจึงจะสามารถงอกได้


เห็ดระโงก
เห็ดระโงก เป็นราไมคอร์ไรซา (mycorrhizas) ที่มีความสัมพันธ์กับไม้วงศ์ยางในลักษณะการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกันกับเซลล์ของรากพืช โดยที่ต่างฝ่ายก็ได้รับประโยชน์ (mutualistic symbiosis) ราจะช่วยดูดน้ำและธาตุอาหารจากดิน โดยเฉพาะฟอสฟอรัส (P) ให้แก่พืช ส่วนราก็ได้สารอาหารจากพืชที่ขับออกมาทางรากสำหรับใช้ในการเจริญเติบโต เช่น น้ำตาล โปรตีนและวิตามินต่างๆ นอกจากนี้ราไมคอร์ไรซายังช่วยป้องกันรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อก่อโรคพืช ต้นกล้าที่มีราไมคอร์ไรซาจึงมีการอยู่รอดมากกว่าพืชที่ไม่มีราไมคอร์ไรซา เพราะสามารถทนแล้ง และธาตุอาหารต่ำได้ดีกว่าต้นกล้าที่ไม่มีราไมคอร์ไรซา ซึ่งเมื่อความชื้นและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เหมาะสม ราไมคอร์ไรซาจะเจริญและพัฒนาเป็นดอกเห็ดให้เห็นได้
วิธีเพาะเห็ดระโงกนั้นง่ายมากแค่ขยำเห็ดแก่มากๆในน้ำแล้วไปรถตรงโคนต้นยางนาที่โตแล้ว(3 ปีขึ้นไป) แค่นี้ปีหน้าก็ได้กินเห็ดแล้ว



“ยางนา” ไม้ของพ่อ ไม้มีค่าที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใย การปลูกเพื่ออนุรักษ์และเพิ่มจำนวนให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไม้ คนไทยควรมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสืบสาน อีกทั้งต่อไปเมื่อกฎหมายป่าไม้ (พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ในมาตรา 7) ได้รับการปลดล็อกแล้ว คือ อนุญาตปลูกไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์เพื่อการค้าได้ รวมถึงไม้ยืนต้น (มีชีวิต) ที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจสามารถใช้เป็น “หลักประกันทางธุรกิจประเภทใหม่” สำหรับกู้เงินกับธนาคารได้ ช่วยเพิ่มโอกาสด้านเงินทุน และยังสร้างรายได้เสริมอีกจากการเพาะเห็ดป่าในสวนไม้ยางนา จำหน่ายควบคู่ไปได้อย่างไม่มีวันหมด

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.forest.go.th/ และ http://www.biotec.or.th/ และ https://www3.rdi.ku.ac.th/