ทะเลสาปวิคทอเรียเป็นทะเลสาปน้ำจืดขนาดใหญ่ อันดับสองของโลก เมื่อไม่นานมานี้ทะเลสาบวิกตอเรียมีปัญหาเรื่องผักตบชวา ทำให้น้ำเน่าเสีย

คนเห็นย่าเลยเอาผักตบชวามาทำปุ๋ยนอกจากจะกำจัดมลภาวะในน้ำแล้วยังเป็นการเพิ่ผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

WATCH: Lake Victoria, the world's second largest freshwater lake is being choked off by water weed. But these Kenyan farmers have found a solution to tackle the issue while also boosting their own crops. Report by @emeramccarthy pic.twitter.com/zvUtAEDTYz
— Reuters (@Reuters) February 2, 2020


การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา
ผักตบชวา เป็นพืชน้ำ (วัชพืช) ที่มีธาตุโปแตสเซียมเป็นจำนวนมาก และธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสพอสมควร ขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำที่ขึ้น และเมื่อนำผักตบชวามาทำเป็นปุ๋ย จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของผักตบชวาให้มีองค์ประกอบ ธาตุอาหารหลักครบ คือ ไนโตรเจน 2.05% ฟอสฟอรัส 1.1% โปแตสเซียม 2.5% ธาตุทั้งสามอย่างนี้จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัวก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก
++ วัตถุดิบ ++
1.ผักตบชวา จำนวน 100 ส่วน
2.มูลสัตว์ จำนวน 10 ส่วน
3.น้ำ (ตามความเหมาะสม)
++ วิธีทำ ++
นำผักตบชวาที่เอาขึ้นจากน้ำ นำมากองเป็นชั้นๆ ประกอบผักตบชวา สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นนำใส่บัวรดน้ำ มารดพอเปียก แล้วใช้เท้าย่ำ โรยทับด้วยมูลสัตว์ ทำซ้ำกันประมาณ 3 ชั้น (แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น)
1.ผักตบชวา จำนวน 100 ส่วน
2.มูลสัตว์ จำนวน 10 ส่วน
3.น้ำ (ตามความเหมาะสม)
++ วิธีทำ ++
นำผักตบชวาที่เอาขึ้นจากน้ำ นำมากองเป็นชั้นๆ ประกอบผักตบชวา สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นนำใส่บัวรดน้ำ มารดพอเปียก แล้วใช้เท้าย่ำ โรยทับด้วยมูลสัตว์ ทำซ้ำกันประมาณ 3 ชั้น (แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น)
จากนั้นนำกระสอบป่านมาคลุมไว้ หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ระหว่างหมัก ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 15 วัน โดยเอาส่วนบนลงล่างและส่วนล่างขึ้นบน กลับกองปุ๋ยหมักประมาณ 2 ครั้ง จากนั้นก็ปล่อยให้ค่อยๆ กลายเป็นปุ๋ยหมัก ซึ่งจะมีสีดำคล้ำ ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นอกจากนำไปทำปุ๋ยหมักแล้ว ยังสามารถนำผักตบชวามาทำวัสดุคลุมดิน โดยนำผักตบชวาที่เอาขึ้นจากน้ำไปคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก
++ ประโยชน์/การนำไปใช้ ++**สามารถใช้ได้ในปริมาณมากน้อย ตามความเหมาะสม เพราะใช้ในปริมาณมากก็ไม่เกิดผลเสียต่อพืช
1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันนานๆ
8. เป็นการนำวัชพืชน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
++ ประโยชน์/การนำไปใช้ ++**สามารถใช้ได้ในปริมาณมากน้อย ตามความเหมาะสม เพราะใช้ในปริมาณมากก็ไม่เกิดผลเสียต่อพืช
1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันนานๆ
8. เป็นการนำวัชพืชน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์